Wednesday, January 30, 2008

Desperado II

บทความที่ท่านกำลังจะอ่านต่อไปนี้ เกิดจากพี่ชายของผู้เขียนบอกว่า แปลความได้ไม่รื่นเลย--เค้าก็เลยขอแปลเอง ถือเป็น Desperado แปลเวอร์ชั่นที่ 2 ล่ะกันนะค่ะ ส่วนตัวแล้วก็มีความเห็นว่า บางครั้งเราก็คงมีอารมณ์แบบนี้บ้างเหมือนกัน... ลองอ่านดูค่ะ

อ่ะละทีนี้มาลองดูเวอชั่นแบบกดดันสุดกับเธอคนนั้น บางทีเราอาจจะอยากตะโกนใส่หน้าเธอแบบนี้บ้างก็ได้
เริ่มละนะ ...

3
4
วี้ดดดดดดบู้มมมมม เอ้ย หลงประเด็น ขออีกเทค
3
4
5
6
7
เอ่อ...... (เมิงจะฮาไปไหนนี่)
เอาจริงละๆ เทค 5 ฉาก 4 ตอนที่ 12 พระเอก เตะนางเอก เอ้ยยยยยยย ฮาอีกละ เอิ๊กๆๆๆๆๆๆ
เอาจริงๆและ 3.......4
นี่เมิง รู้ตัวม่ะว่าทำไรอยู่
จะหลอกตัวเองไปอีกนานมั้ยนี่ ทำมัยเป็นคนโง่งี้อ่ะ
เลิกซะที่ไอ่ที่ยกเหตุผล108มาหลอกตัวเอง
มันไม่ได้ ดีจริงๆหลอก แบบนั้น

อ๋ะ เอาอีกละ ยังจะเก็บไว้อีกรึ ไพ่ใบนี้รู้นิว่ามันเสี่ยง
เค้าเห้นกันทั้งเมือง ว่าใบนี้ต่างหากที่ดีที่สุด
ทำไมชอบเลือกไร ที่มันเสี่ยงๆนะ ไม่เข้าใจแกล้งโง่รึว่าโง่จริงกันแน่.....(-*-)

นี่ๆๆๆๆ แม่คุณ จะใช้ชีวิตไปวันๆแบนี้นะหรือ
มันเจ็บมากมั้ย เธอ(เมิง)ตอบตัวเองได้ยัง
ไม่มีใครเข้าขังเมิงได้หรอกเลิกขังตัวเองได้แล้ววววววว ....โธ่...เซ็งแทน

อ่อ ละที่ทำอยู่นี่มันหายเหงามั้ย
รู้มั้ยว่าข้างนอกนั่นเป็นยังไง เปลี่ยนไปแค่ไหนฮึ่ยยย........โธ่เว้ยยยย
งั้นอีกคำถามม มึงสนุกกะชีวิตมึงตอนนี้มั่งป่ะ

พอและหัดคิดไรเองซะมั่ง ลองดุๆ เผื่อไรมันจะดีขึ้น
ปัญหามีไว้ให้แก้ไม่ใช่หนี ก่อนที่อะไรจะสาย

ป.ล. หลายหลายกับบทเพลงเดสเพอราโด้ หากคุณผู้อ่านอยากลองแปลในแนวของตัวเองบ้างก็ได้ค่ะ เพิ่มความสนุกสนานไปกับการเรียน แล้วยังไงก็เอามาแบ่งปันกันได้เด้อค่ะเด้อ

"Desperado"

ขอค้างไว้ก่อนนะคะเรื่องของสำเนียง (ตอนจบ) เขียนไว้แล้วแต่ยังไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านบทเพลงแทนกันค่ะ

"Desperado" เป็นเพลงของวง The Eagles (ดิ-อีเกิ้ลส์) ซึ่งแต่งขึ้นในยุคเซ่เว่นที้ส์ (70s) แต่ที่ฉันฟังนั้นขับร้องโดย Emi Fujita เป็นเสียงผู้หญิงร้องคลอไปกับเสียงเปียโน ไพเราะปนเศร้าๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกอีกแบบ เหมือนเธอต้องการบอกอะไรกับชายที่เธอ (อาจจะ) หลงรัก หรืออีกนัยหนึ่งก็อยากจะบอกและเตือนใครสักคนที่เธอรู้จักพฤติกรรมของเขาเป็นอย่างดีเกี่ยวกับสิ่งที่เค้าทำและเผชิญอยู่

การร้องเพลง หากเราเข้าใจเนื้อหาและความหมาย จะทำให้เราร้องพลงนั้นได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเสียงเพลงได้อีกด้วย แปลไว้ด้วยการใช้สำนวนของตัวเอง ดีไม่ดีอย่างไรก็ติชมกันได้นะ อาจจะมีบริบทที่เปรียบเทียบเยอะสักหน่อย ทำให้ภาษาที่ใช้ไม่รื่นไหล ยังไงลองอ่านเนื้อเพลง (Lyric = ลิ-ริค = เนื้อเพลง) และทำความเข้าใจก่อนสัก 2-3 รอบแล้วค่อยดูความหมายที่แปลไว้ให้เป็นภาษาไทยเน้อ...

ใครที่อยากฟังเพลง ก็เข้าไปที่ Youtube หรือ Imeem ล่ะกันนะ ^_^

Desperado, why don't you come to your senses?
You been out ridin' fences for so long now
Oh, you're a hard one I know that you got your reasons
These things that are pleasin' you
Can hurt you somehow

Don't you draw the queen of diamonds boy
She'll beat you if she's able
You know the queen of hearts is always your best bet
Now it seems to me, some fine things
Have been laid upon your table
But you only want the ones that you can't get

Desperado, oh, you ain't gettin' no younger
Your pain and your hunger, they're drivin' you home
And freedom, oh freedom well, that's just some people talkin'
You're prisoner is walking through this world all alone

Don't your feet get cold in the winter time?
The sky won't snow and the sun won't shine
It's hard to tell the night time from the day
You're losin' all your highs and lows
Ain't it funny how the feeling goes.... away ?

Desperado, why don't you come to your senses?
Come down from your fences, open the gate
It may be rainin', but there's a rainbow above you
You'd better let somebody love you(let sombody love you)
You'd better let somebody love you....
...BEFORE IT'S TOO LATE...

......ทำไมเธอไม่ตามความรู้สึกของตัวเองไป?
เธอเองหลบหนีกับความจริงมานานแล้ว
โธ่ ทำไมเธอช่างดื้อรั้นนักนะ ฉันรู้ว่าเธอมีเหตุผลของตัวเอง
แม้สิ่งนั้นจะทำให้เธอพึงพอใจ
แต่มันก็สามารถทำร้ายและทำให้เธอเจ็บปวดเธอได้เช่นกัน

เธอยังไม่ยอมทิ้งแหม่มข้าวหลามตัดอีกหรือ...
เธอก็รู้ดี...ว่ามันจะทำร้ายเธอทันทีที่มีโอกาส
แหม่มโพแดงต่างหาก..ที่ดีที่สุดสำหรับการเดิมพัน
ดูเหมือนว่าจะมีไพ่ดีๆ วางข้างหน้าเธอมากมาย
แต่เธอก็ยังหวัง...หวังในสิ่งที่ไม่สามารถเป็นไปได้

......เธอไม่อาจใช้ชีวิตคึกคะนองแบบนี้ได้เรื่อยไปหรอกนะ
ความเจ็บปวดและความปรารถนาเหล่านั้น จะทำให้เธอเข้าใจและคิดได้
อิสระ เสรีภาพ ที่แท้จริง...มีที่ไหนกันล่ะ มันก็แค่สิ่งที่คนเค้าพูดถึง
นักโทษที่กักขังตัวเองอย่างเธอ คงต้องเผชิญโลกกว้างอย่างเดียวดาย

เธอไม่รู้สึกเหน็บหนาวที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวบ้างหรือไร
เวลาที่ท้องฟ้าไม่โปรยหิมะ หรือดวงอาทิตย์ไม่ทอแสง
มันยากต่อการจะบอกว่าเวลาพ้นผ่านไปนานเท่าไร
เธอกำลังสูญเสียทุกอย่าง
ไม่ตลกหรือ หากปล่อยให้ชีวิตจบลงแบบนี้?

......ทำไมไม่ลองทบทวนให้ดี?
ออกมาจากกำแพงที่ปิดกั้นความรู้สึก เปิดหัวใจของเธอเอง
แม้อาจจะเจอกับปัญหา แต่หนทางสว่างก็ยังรอเธออยู่
เธอควรจะปล่อยให้ใครสักคนรักเธอ
...ให้ใครสักคนได้รักเธอ...
...ก่อนที่อะไรมันจะสายเกินไป...

อธิบายเพิ่มเติม
เรามาดูสำนวนกันบ้างนะคะ (Idiom = อิ-เดี้ยม)

*To drive someone home* (ทู ไดรฟ์ ซัมวัน โฮม)
แปลว่า พูดซ้ำๆ ทำซ้ำๆ ให้เข้าใจถึงความหมาย เช่น

She used the bills to drive her sister home that we need to economize.
(ชี ยูสดึ เดอะ บิลส์ ทู ไดรฟ์ เฮอ ซิสเตอร์ โฮม แดท วี นี้ด ทู อิคอนอไมซ์)
หล่อนใช้ใบเสร็จอธิบายให้น้องสาว (ฟังหลายครั้งแล้ว) ว่าถึงเวลาที่พวกเราต้องประหยัดล่ะนะ

จากในเพลง เราจะเห็นประโยค
Your pain and your hunger, they're drivin' you home.
(ยัวร์ เพน แอนด์ ยัวร์ฮังเก้อร์ เดเออะ ไดรฟ์วิ่น ยู โฮม)
ความเจ็บปวดและความปรารถนาที่พบเจอมานั้นจะทำให้เธอเข้าใจและคิดได้

*To walk through something* (ทู วอล์ค ธรู ซัมติง)
แปลว่า ข้ามผ่าน เผชิญ

นี่ก็ใกล้วาเลนไทน์แล้ว ขอยกประโยค(หวาน)เน่าๆ สักประโยคนะค่ะ

Without you, how could I possibly walk through the day?
(วิธเอ้าท์ ยู ฮาว คู้ด ไอ พอสสิ-บลี้ วอล์ค ธรู เดอะ เดย์)
ปราศจากเธอแล้ว..ฉันจะสามารถผ่านคืนวันเหล่านี้ไปได้อย่างไรกัน?

ในชีวิตจริงของผู้เขียน เวลาเจอประโยคพาหะ*เหล่านี้จะไม่ค่อยแปลค่ะ แปลแล้วใจมันสั่น (-_-")

You're prisoner is walking throught this world all alone.
(ยูเออะ พริซันเนอร์ อีส วอล์คกิ้ง ธรู ดีส เวิร์ล ออล อโลน)
จากเนื้อเพลง ประโยคนี้เป็นประโยคเปรียบเทียบค่ะ ประมาณว่า ทุกคนล้วนใฝ่หาอิสระและเสรีภาพ แต่ทำไมเธอยังคงกักขังตัวเองราวกับเป็นนักโทษ และหากยังจมอยู่กับอดีตที่ไม่สมหวัง เธอคงต้องเผชิญกับปัญหาในโลกอันกว้างใหญ่นี้อย่างเดียวดาย

เราสามารถใช้คำว่า Get through แทนก็ได้ค่ะ
(Get through = Walk through)

*You're hard one.* (ยูเออะ ฮาร์ด วัน)
แปลว่า คุณเป็นคนหัวรั้น ยากแก่การเอาชนะ ไม่อ่อนไหว เข้าใจยาก
ย่อมาจาก You're hard person. นั่นเองค่ะ

หากจะหมายถึงคนที่มีร่างกายแข็งแรง กำยำ ซึ่งในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Strong (สตรอง) หรือ Healthy (เฮลธ์ตี้) เช่น

"Lawrence is a strong person."
(ลอเรนซ์ อีส อะ สตรอง เพอซึน)
ลอเรนซ์เป็นคนที่มีร่างกายแข็งแรงนะ

เปลี่ยนมาดูคำศัพท์ หรือ Vocabulary ที่น่าสนใจกันบ้างนะคะ

*Desperado* (เดส เพอ รา โด) ความหมายจริงๆของคำนี้คือ โจร ผู้ร้าย ขุนโจร ทรชน ผู้ก่ออาชญากรรม คนที่ชอบเสี่ยง คนที่ไม่ชอบรอคอย แต่ความหมายเปรียบเทียบ คือ เธอผู้สิ้นหวัง เหงาหงอย จดจ่อกับสิ่งที่ไม่สมหวัง จมอยู่กับอดีต ดังนั้นผู้เขียนเลยเว้นว่างไว้ ใครใคร่ใช้คำสรรพนามเรียกว่าอะไรก็ไม่ว่ากัน อาจจะเป็น ที่รัก/ เพื่อนรัก/ ทรชน/ คนเหงา/ รวมถึงถ้อยคำที่ไม่สุภาพที่ใช้เรียกเพื่อนๆ คนสนิทๆ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเรากำลังใช้ความหมายของเพลงเป็นตัวกลางสื่อสารกับใครอยู่ ดังนั้นหากใครใคร่ใช้คำไหนก็แล้วแต่ค่ะ

*Draw* (ดรอ)
เป็นคำกริยา เราคุ้นชินกับ Draw ที่แปลว่า วาดรูป ใช่มั้ยค่ะ แต่จริงแล้วกริยาตัวนี้มีได้หลายความหมาย นอกจากจะแปลว่าวาดรูปได้แล้ว ยังแปลได้ว่า ถอน ดึง จูง ชัก(อาวุธ) จับฉลาก และในเนื้อเพลงก็หมายถึงการจั่ว หรือ ทิ้ง(ไพ่) ก็ได้ค่ะ

Don't you draw the queen of dimonds boy.
(ด๊น ยู ดรอ เดอะ ควีน ออฟ ไดมอนด์ส์ บอย)
แปลว่า เธอยังไม่ยอมทิ้งแหม่มข้าวหลามตัดอีกหรือ...พูดต้องการต่อว่าเล็กๆ ว่าทั้งๆที่รู้ว่ามันจะทำร้ายเธอ แล้วทำไมไม่ทิ้งมันไปซะ จะเก็บไว้ทำไมอีก ประมาณนั้นค่ะ
*The queen of diamonds*
หรือ ไพ่แหม่มข้าวหลามตัด
ความหมายเชิงอุปมาฯ คือ เงินทอง สิ่งของมีค่า ความมั่งคั่ง ผู้หญิงรูปงาม เก่ง มีชาติตระกูล

*The queen of hearts*
หรือ ไพ่แหม่มโพแดง
ความหมายเชิงอุปมาฯ คือ ความรัก ผู้หญิงที่มีรักเต็มเปี่ยมและจิตใจงาม


(นอกเรื่อง)
*The queen of spades*
หรือ ไพ่แหม่มโพดำ
ความหมายเชิงอุปมาฯ คือ ผู้หญิงที่เต็มไปด้วยความลึกลับ หรือ อำนาจ วาสนา บารมี

*The queen of clubs*
หรือ ไพ่แหม่มดอกจิก
ความหมายเชิงอุปมาฯ คือ อริ ศัตรู

จากประโยค You're losin' all your highs and lows. ซึ่ง Highs and lows ในที่นี้ก็เปรียบกับการเล่นไพ่ คือเสียทั้งพนันสูงและต่ำ ซึ่งก็หมายถึง ทุกอย่างค่ะ

ประโยคสุดท้ายของวันนี้นะคะ

It may be rainin', but there's rainbow above you.

หมายถึง แม้ว่าฝนจะตก แต่มันก็มีสายรุ้งเรืองรองอยู่ (หลังฝนตก ก็จะมีรุ้งงาม) เปรียบได้กับชีวิตเมื่อพอปัญหามันก็มีทางแก้ไข หรือหากเราผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ ไปได้ก็จะมีทางที่สดใสรอเราอยู่ค่ะ

คงไม่แปลกอะไร หากเป็นอีกหนึ่งคนที่ชอบเพลงเพลงนี้ คุณผู้อ่านเคยเจอกับเหตุการณ์แบบนี้บ้างหรือเปล่า หรือกำลังเผชิญอยู่ อย่างไรก็ตามบางครั้งเราก็ต้องปล่อยให้อดีตอยู่ในที่ที่มันควรอยู่ และเป็นคัวเราเองที่ต้องเดินต่อไป ใคร่ครวญ ทบทวนกับอดีตให้เป็นบทเรียนกับปัจจุบัน จะเป็นกำลังใจให้เด้อค่ะ

วันนี้ลาไปก่อนแล้ว พบกันคราวหน้า สวัสดีค่ะ // ป.ล. ตีมไชนีสนี้สีสันรุนแรงไม่เหมาะกับการอ่าน และอาจจะจะรบกวนประสาทตาของคุณผู้อ่านบ้าง ต้องขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยค่ะ

Tuesday, January 22, 2008

สำเนียงไหนดีนะ? ตอนที่1

เมื่อสำเนียงส่อ(เค้า)ของภาษา และที่มาของบุคคลนั้น วันนี้จึงขอนำเสนอให้คุณผู้อ่านได้รู้จักกับหลายหลายสำเนียง สำหรับคนที่มีชั่วโมงบินในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับกลางหรือระดับสูง สำเนียงจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราจะสามารถเดาได้ว่าเขาหรือเธอผู้นั้นมาจากไหน หรือน่าจะมีความสัมพันธ์กับชาติใดเป็นพิเศษ

สำเนียง ในที่นี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dialect (ได อะ เล็คทึ) หรือ Accent (แอคเซ่นทึ) ซึ่งจะหมายถึงสำเนียงที่เป็นสำเนียงท้องถิ่น สำเนียงเฉพาะกลุ่ม รวมไปถึงการออกเสียงและการเน้นย้ำคำ (Stress = สเตรท หรือ Emphasize = เอ็ม ฟา ไซส์ แปลว่า เน้น ย้ำ) คำศัพท์หรือทับศัพท์ที่ใช้ในกลุ่มนั้นๆ โดยแบ่งได้ตามแต่ละท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค ไปจนถึงทวีป

Ex.
He has a very strong German accent.
(ฮี แฮส อะ เวรี่ สตรอง เจอร์แมน แอคเซ่นทึ)
เขาพูดมีสำเนียงคนเยอรมันมากๆ

The immigrant spoke dialect of English.
(ดิ อิมมิแกร้นท์ สโปค ไดอะเล็คทึ ออฟ อิงลิช)
ผู้อพยพพูดสำเนียงอังกฤษ

The language is a dialect with army.
(เดอะ แลงเกวจ อีส ไดอะเล็คทึ วิธ อาร์มี่)
ภาษานั้นมีสำเนียงของทหาร
(ภาษาที่พูดนั้นมีศัพท์บางคำที่บ่งบอกถึงความเป็นทหาร)

จริงๆแล้วในแต่ละประเทศก็จะมีเอกลักษณ์การพูดแตกต่างกันออกไป แบ่งตามทวีปได้ดังนี้

-Europe
British, English, Estuary, Cockney, East Anglian, Lancashire, Yorkshire, Scouse (Liverpool), Scottish, Welsh, Hiberno-English (Ireland) and so on*.

-North America
American, African, Boston, California, Chicano, General American, New England, New Jersey, NY, North Central American, Southern American, Canadian, Pennsylvania Dutch English, Utah, Newfoundland, Quebec, West-Central Canadian, Carribean, Jamaican and so on.

-Oceania
Australian, Australian Aboriginal, Torres Strait, New Zealand and so on.

-Asia
Burmese, Hong Kong, Indian, Singaporean, Thai, Indonesian, Philippine and so on.

-Africa
Cameroon English, Liberean, South Africa and so on.

*and so on แปลว่า อื่นๆอีกมากมาย* เช่น

My favorite fruits are longan, apple, orange and so on.
(มาย เฟเวอร์ริท ฟรุ้ตส์ อาร์ ลองแกน แอ๊ปเพิ้ล ออแรนจ์ แอนด์ โซ ออน)
ผลไม้โปรดของฉันคือ ลำไย แอปเปิ้ล ส้ม และอื่นๆอีก

มาที่สำเนียงกันต่อ จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษที่ว่าป็นภาษากลางนั้นดูท่าจะไม่กลางก็เพราะเจ้าสำเนียงนี่แหละค่ะ นอกจากสำเนียงจะบ่งบอกถึงผู้พูดแล้ว อิทธิพลของภาษาเดิมหรือภาษาท้องถิ่นส่งผลให้ความต่างเกิดขึ้นในตัวภาษาอังกฤษ ทั้งการออกเสียง โครงสร้างทางภาษาบางส่วน และการนำไปใช้ ตัวอย่างเช่น การพูดภาษาอังกฤษด้วยการคิดเป็นภาษาไทยก่อน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเกิดความผันผวนค่อนข้างมากทำให้เกิดความต่างจาก Standard English และความผันผวนตัวนี้เองที่มีส่วนทำให้ภาษาอังกฤษถูกเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาษาจึงไม่ตายแต่กลับกลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

วันนี้ขอคัดมาเฉพาะสำเนียงเด่นๆ มาให้รู้จักกันนะคะ

อังกฤษสำเนียงอังกฤษ (British English: BrE, BE)
หลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าสำเนียงนี้ไพเราะและมีเสน่ห์นักหนา--แต่ฟังยากมาก..กก++ อ่ะ อันนี้ประสบพบเจอมากับตัว พานพบว่าเอ๊ะฉันคุยกับมะนาว(ต่างดุ้ด) อยู่หรือเปล่าเนี่ย แม้แต่คนที่พูดสำเนียงนี้ยังทราบถึงความยากในสำเนียงตัวเอง หากคุณเป็นผู้ฟังแล้วล่ะก็..นอกจากจะต้องทำใจแล้ว การบอกให้เค้าพูดช้าลง ก็เป็นเรื่องที่สมควรทำอย่างยิ่ง

หากสนใจอยากจะฟังสำเนียงแบบอังกฤษอังกฤษนี้ ลองไปหาหนังมาดู เช่น เรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ภาคไหนก็ได้) หรือ Loard of the Ring ก็ได้ค่ะ หรือจะเป็นหนังที่ ฮิว แกรนท์ (Hugh Grant) เล่น เช่น Music and Lyrics, Notting Hill, Bridget Jones' Diary2 (The Edge of Reason), Two week notice หรือพระเอกสุดแสนจะเซ็กซี่อย่าง ออแลนโด้ บลูม (Orlando Bloom), ไคล์ฟ โอเว่น (Clive Owen), จู้ด ลอว์ (Jude Law), โรแวน แอทคินสัน (Rowan Atkinson) หรือที่เรารู้จักกันในนามของมิสเตอร์บีน (Mr.Bean) ก็พูดสำเนียงอังกฤษทั้งนั้นค่ะ มาถึงนักแสดงสาวบ้างนะค่ะ เช่น เรเน่ (Renée Zellweger) นางเอกในเรื่อง Bridget Jones' Diary และ Miss Potter หรือดาราสาวพราวเสน่ห์อย่างเคียร่า ไนท์ลี่ (Keira Knightly) นางเอกเรื่อง Pirates of the Carribbean, Love Actually และพลาดไม่ได้กับเรื่อง Pride and Prejudice

นอกจากนั้นใครที่เป็นแฟนกีฬาคงไม่พลาดช่อง ESPN ใช่ไหมค่ะ แต่บังเอิญว่าผู้เขียนไม่ได้เป็นผู้หญิงคลั่งกีฬา (ถ้าคลั่งนักกีฬาก็พอได้..อิอิ) ดังนั้นบางครั้งที่อยู่บ้านจึงเป็นเพียงเสียงเดียวที่ไม่อยากดูช่องนี้ แต่ไหนๆก็ไหน หัวเดียวกระเทียมลีบทำอะไรก็ไม่ได้ อย่ากระนั้นเลยเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสด้วยการฝึกฟังเสียงและสำเนียงจากทีมพากย์ซะ...เท่านี้ก็หมดปัญหา ^_^

ดังนั้นช่อง ESPN หรือช่องสปอร์ตต่างๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการฝึกฟังสำเนียงแบบต่าง ทั้งในยุโปและทวีปอื่นๆ เช่น สำเนียงสเกาเซอร์ (Scouser-สำเนียงที่ใช้ในเมืองลิเวอร์พูล) ของคุณสตีเฟ่น เจอร์ราร์ด (Steven Gerrard) กองกลางคนสำคัญของทีมหงส์แดง หรือคุณเวน มาร์ก รูนีย์ (Wayne Mark Rooney) กองหน้าของทีมผีแดง หรือสำเนียงค็อกนีย์ (Cockney-สำเนียงที่ใช้ในแถบ East End of London) เช่น คุณแพท ไรซ์ (Patt Rice) ผู้ช่วยผู้จัดการทีมอาร์เซนอล หรือสำเนียงสก็อตแท้ๆ ของท่านเซ่อร์เฟอร์กี้ (Sir Alexander Chapman Ferguson) ที่แม้แต่ตัวผู้เขียนยังยอมรับในอภินิหาร...ว่าฟังไม่รู้เรื่องจริงๆ เช่น คำว่า Come On เค้าจะออกเสียงว่า "เคมโมน" สำเนียงท่านเซ่อร์ฯ ก็ถือเป็นปัญหาสำหรับนักเตะต่างชาติอย่าง โซลชาร์ (Ole Gunnar Solskjær-ชาวนอร์เวย์), โรนัลโด้ (Cristiano Ronaldo-ชาวโปรตุเกส) บ้างเหมือนกัน หลายครั้งที่ได้แชมป์มาครอง คงเพราะอาศัยดวงมากว่า..ว่ามั้ย!? (อิอิ..พอดีผู้เขียนไม่ได้เป็นเด็กผี...แต่เป็นแฟนทีมบีอีซี เทโรฯ...!?)

อังกฤษสำเนียงอเมริกัน (American English: AmE, AE)
เป็นอีกหนึ่งสำเนียงที่คล้ายพูดอยู่ในลำคอ งึมงำๆ กันเข้าไป จะพูดให้ชัดๆหน่อยก็ไมได้ แต่ที่เรารู้สึกว่าสำเนียงนี้ฟังง่ายกว่าสำเนียงแบบอังกฤษ อาจจะเป็นเพราะว่าความคุ้นชินที่ดูหนังจากฮอลิวูด เพราะนักแสดงส่วนมากมักติดสำเนียงอเมริกัน

แต่แค่การพูดยังไม่หนักใจเท่ากับอภินิหารการใช้ Phrasal Verb (เฟร-ซึล เวิร์บ) ของท่านทั้งหลายที่ทำเอาคนฟังเวียนเฮดกันไปตามๆกัน ลองดูตัวอย่างหน่อยนะ

When will you set forth for China?
(เว็น วิล ยู เซ็ท ฟอร์ธ ฟอร์ ไชน่า)
เธอจะไปเมืองจีนเมื่อไรจ้ะ
set forth แปลว่า ออกเดินทาง

He always stands on the regulation.
(ฮี ออลเวย์ส์ สแตนส์ ออน เดอะ เรกกิวเรชึ่น)
เขาทำตามกฎเสมอ
stand on แปลว่า ทำตาม

หลายคนที่ยังไม่รู้จักเจ้า Phrasal Verb นี้ ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ ขออธิบายคร่าวๆ ว่า Phrasal Verb คือ การนำคำกริยามาผสมกับ Adverb (คำขยายกริยา เช่น away, up) หรืออาจจะผสมกับ Preposition (คำบุพบท เช่น in, on, at, under) จนได้คำใหม่ที่มีความหมายคล้ายคำกริยาตัวนั้น หรือบางครั้งความหมายก็ต่างออกไป เอาคร่าวๆ เพียงเท่านี้ก่อน เรื่องของเจ้าตัวปัญหา Phrasal Verb นี้จะนำมาเสนอในโอกาสต่อๆไปค่ะ

ลองดูตัวอย่างการออกเสียงเปรียบเทียบระหว่างสำเนียงอังกฤษ (BrE) กับสำเนียงอเมริกัน (AmE) บ้างนะค่ะ

Water
BrE โวเท่อร์ AmE วอเดอร์

Toyota
BrE ทะโยถ่ะ AmE ทะโยดะ

City
BrE ซิเท่ AmE ซิดิ

Computer
BrE คอมพิวเทอร์ AmE คอมพิวเดอร์

Walk
BrE โว้ล์ค AmE วอล์ค

Behind
BrE บิฮัยด์ AmE บะฮายด์

Here
BrE เฮร์ AmE เฮียร์

Later
BrE เลเถ่อะ AmE เลเดอร์

อเมริกาเป็นประเทศที่ใหญ่มากทำให้สำเนียงภายในก็ต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย แถมบางคนก็ไม่ได้เป็น Native Speaker (เนทีฟ สปีคเก่อร์ คือผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่/ ภาษาหลัก) ทำให้สำเนียงของภาษาก็ต่างกัน นอกจากนั้นอเมริกายังเคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สก็อตแลนด์ สวีเดน ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่มีความหลากหลายในสำเนียง และหากลองคิดดูกันเล่นๆว่า ภาษาไทยของเราแบ่งสำเนียงเด่นๆ ได้เป็น เหนือ อีสาน กลาง ใต้ ส่วนความกว้างใหญ่ของสหรัฐอเมริกานั้นเท่ากับ 20 เท่าของประเทศไทยโดยประมาณ เช่นนั้นแล้วจะมีกี่สำเนียงกันนะ...

อย่าไปนับให้ปวดขมองเลยค่ะ อย่างไรก็ตาม คุณผู้อ่านไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพียงแค่สำเนียงไม่ถือว่าเป็นตัวอุปสรรคหลักสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางการสื่อสารมากมาย หรือยุ่งยากวุ่นวาย จนเกิดความไม่เข้าใจกัน วันนี้ที่เอาเรื่องสำเนียงมานำเสนอ เพื่อให้คุณผู้อ่านรู้จัก และสังเกตการออกเสียงเพื่อบ่งบอกถึงที่มาของบุคคลคนนั้น เผื่อว่าในวันข้างหน้าจะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างค่ะ

โดยส่วนตัวผู้เขียนนั้นนิยมทุกสำเนียงค่ะ เพราะถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งในการเรียนภาษา ส่วนเรื่อง Standard English ผู้เขียนมองว่าแท้จริงมีเพียงในภาษาเขียนเท่านั้น หัวใจหลักสำคัญของภาษา คือการสื่อสารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ความคิด อุดมการณ์ หรือศาสตร์ในแขนงต่างๆ ดังนั้นไม่ว่าเราจะพูดภาษาอังกฤษสำเนียงไหน ขอให้สื่อสารกันเข้าใจ เป็นใช้ได้ค่ะ หรือแม้แต่จะมี Body Language เข้ามาช่วยบ้าง อันนี้ก็ไม่ว่ากันค่ะ (บอดี้ แลงเกวจ = ภาษากาย--แต่ในที่นี้แปลว่าภาษามือค่ะ)

และในสัปดาห์หน้ายังคงนำเสนอเรื่องราวของสำเนียงและเป็นสำเนียงที่กำลังมีอิทธิพลต่อการพูดจาของวัยรุ่นชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก รวมถึงสำเนียงน่ารักๆ แบบชาวญี่ปุ่นกัน ติดตามให้ได้นะค่ะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

Sunday, January 20, 2008

เมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน

โดยหลักอนิจจังแล้ว เราควรมองเห็นหลักของการเปลี่ยนแปลงเลื่อนไหลของสรรพสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นสถานการณ์ทางการเมือง อย่าคิดว่าสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือการเปลี่ยน แปลงเป็นเรื่องไม่ดีตลอดเวลา กล่าวอีกแบบหนึ่งคือเราไม่ควรมองคำนิยามคุณค่า ความหมาย หรือบทบาท หรือตัวแสดง ตลอดจนองค์ประกอบทางการเมืองทั้งหลายอย่างหยุดนิ่งตายตัว

การเมืองไทยโดยเนื้อแท้แล้วมีระบบหรือเปล่า สามารถตีเส้นแบ่งชัดเจนว่าเป็นระบอบอะไรได้แค่ไหน หรือว่าในความเป็นจริงสัมพันธภาพของผู้คนในประเทศนี้ ล้วนล่องลอยไปในสายธารของเหตุการณ์ มีตัวบุคคล ตลอดจนพลังต่างๆ ผลุบโผล่แล้วถอยจมไปตามคลื่นลมของกระแสน้ำ หาได้มีสิ่งใดหยุดนิ่งให้นิยาม ไม่มีรูปนามให้ยึดถือ

ในเมื่ออำนาจคือกระบวนการที่คนบังคับคน ไฉนจึงต้องหาคำแก้ตัวที่ต่างกัน คำถามเหล่านี้แค่พวกเราฉุกคิดขึ้นมาเป็นระยะๆ อาจจะช่วยให้โลกร้อนน้อยลง

สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้ถือว่าเป็นวิกฤตหนักหน่วงรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนทุกหมู่เหล่า โดยใน 2 ปีมานี้ ต้องยอมรับว่าความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพลังในสังคมทางสังคมไทยทำให้สังคมไทยไม่ได้รับอนุญาตให้อ่านความจริงของสถานการณ์ครบถ้วนมากนัก และทำให้สังคมถูกชักชวนให้เลือกข่าวให้ขัดแย้งกันในทุกประเด็นจนเกิดเป็นความสับสนและหาคำตอบแทบไม่ได้

ปัญหาการเมืองของไทยเกิดจากประเด็นเรื่องอำนาจ โดยประกอบด้วย
1.อำนาจรัฐโบราณที่มาจากที่ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน
2.อำนาจที่มาจากทุนนิยมโลกาภิวัตน์

ทำให้มรดกทางการเมืองไทยที่เราได้รับมีความขัดแย้งกันเองเหมือนประวัติศาสตร์ได้กำหนดเส้นทางให้การเมืองไทยเดินมาภายใต้แนวทางแบบนี้ ความแตกต่างกันระหว่าง การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทั้งคณะที่ลงมือเองและให้การสนับสนุน กับคณะบุคคลที่ครองอำนาจด้วยวิธีเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 ก็เหมือนความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญระหว่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คือมีส่วนต่างกันอยู่บ้างในเรื่องที่มาและเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางอำนาจ แต่ไม่ได้ต่างกันถึงขั้น ขาวล้วน ดำล้วน ดังที่บางฝ่ายพยายามบอกเรา

แนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ ต่างยืนยันอยู่ในกรอบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ซึ่ง หมายถึงว่า ในมิติทางเศรษฐกิจ ระบอบไทยรักไทย และระบอบ คมช. ไม่มีอะไรต่างกันโดยพื้นฐาน ส่วนใครจะบริหารจัดการได้ดีแค่ไหน นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

คำถามมีอยู่ว่า ในเมื่อทุกฝ่ายยอมรับจะเดินตามโลกาภิวัตน์ในกรอบลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างไม่มีเงื่อนไขแล้ว อะไรเล่าคือจุดต่าง อะไรเล่าคือประเด็นขัดแย้งในหมู่ชนชั้นนำของไทย จุดนี้เองที่เป็นความสลับซับซ้อนของสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย กล่าวคือ แม้ชนชั้นนำไทยจะมีอยู่หลายหมู่เหล่าและไม่ได้แตกต่างขัดแย้งในระดับเศรษฐกิจสังคมอย่างแท้จริง แต่ประเด็นหลักของ การกระทบกระทั่งก็ยังเหลืออยู่ที่การจัดฐานะในด้านความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ยังไม่ลงตัว

แต่เมื่อด้านหนึ่งประเทศไทยใช้หลักความสัมพันธ์ทางอำนาจในเรื่องความชอบธรรมของอำนาจ ทั้งแบบจารีตประเพณีซึ่งเน้นคุณธรรม แต่ในอีกด้านหนึ่งรัฐไทยก็มีการใช้อำนาจที่เน้นฉันทานุมัติจากการเลือกตั้ง ตลอดจนความเสมอภาคทางด้านการเมือง และมีคนบางกลุ่มที่มีความคิดแบบ "หลังสมัยใหม่" ที่ไม่เชื่อว่าอำนาจมีอยู่จริง สภาพดังกล่าวทำให้ประเทศไทยมีทั้งอำนาจที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ดำรงอยู่อย่างขนานกัน บางทีก็ทับซ้อนกันจนแยกกันไม่ออก ดังนั้น การก้าวขึ้นสู่อำนาจและการรักษาอำนาจจึงยากลำบากเป็นพิเศษ ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ละเอียดอ่อนประณีต และต้องเฉลี่ยความพอใจทางการเมืองไปตามบรรทัด ฐานและความคาดหวังหลายแบบ นี่คือภูมิประเทศทางการเมืองที่ผู้มองข้ามมักจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอันแสนแพง

โดยในยามที่องค์ประกอบของอำนาจเหล่านี้เข้าหากันด้วยดี เมื่อนั้นก็จะไม่เกิดปัญหาตรงกันข้าม หากการผสมผสานกันไม่ลงตัวก็ทำให้เกิดความยุ่งยาก และกลายเป็นวิกฤตการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปัจจุบัน บทเรียนที่เกิดขึ้นมีความผิดพลาดจากการที่กลุ่มทุนกลุ่มใหญ่ที่ขึ้นมากุมอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 มีการใช้อำนาจโดยแยกออกจากฉันทามติทางวัฒนธรรมมากเกินไป หรือที่เรียกว่า "ลุแก่อำนาจ" ทำ ให้ได้รับการต่อต้านจากคนจำนวนมาก เรื่องความชอบธรรมของการใช้อำนาจว่า
1.ต้องมีที่มาที่ชอบธรรม
2.ต้องมีจุดหมายที่ชอบธรรม
3.วิธีการใช้อำนาจต้องชอบธรรมด้วย ไม่ใช่ที่มาชอบธรรมแล้วทำอะไรก็ได้

การเอาตัวเลขหรือเสียงข้างมากที่ได้รับจากการเลือกตั้งมาอ้างเป็นฉันทานุมัติ หรือการยินยอมให้มีการใช้อำนาจ ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่ความชอบธรรมอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งเสียงข้างมากแต่เวลาใช้อำนาจจริงๆ ผู้ลงคะแนนเหล่านั้นก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยทุกเรื่อง การใช้อำนาจอย่างขาดความชอบธรรมเช่นนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การเมืองไทยไม่มั่นคง แตกแยกมาจนถึงทุกวันนี้

แต่ความเป็นจริงที่มากกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือจากการรัฐประหารก็ไม่สามารถกุมอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีฝ่ายไหนจะรักษาความชอบธรรมได้ครบทุกแบบ ทำให้ไม่มีใครสามารถปกครองประเทศได้ทั้งหมด และส่งผลกลับมายังตัวรัฐที่ไม่อาจทำหน้าที่ศูนย์อำนาจได้อย่างเต็มที่เหมือนก่อน เห็นได้จากการที่ทั้ง "ระบอบทักษิณ" และ "ระบอบ คมช." ต่างก็ถูกต่อต้านในรูปแบบต่างๆ ความจริงข้อหนึ่งมีอยู่ว่าตราบใดที่ประชาธิปไตยยังคงเป็นความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เปิดพื้นที่ให้เฉพาะคนบางส่วนและปิดสำหรับคนบางส่วนตราบนั้นต้องมีพลังอื่นเคลื่อนไหวทับซ้อนกับระบอบนี้ ดังที่เราได้เห็นว่าปัญญาชนนักวิชาการที่ผิดหวังกับรัฐบาลเลือกตั้งจึงไม่คัดค้านการรัฐประหารทั้งที่เขาก็ไม่อยากได้เผด็จการแต่อย่างใดในทางรัฐศาสตร์ สิ่งนี้เรียกว่า "วิกฤตฉันทานุมัติ" ที่เกิดขึ้น ในระบอบโดยระบอบที่อ่อนแอจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลค่อนข้างมาก ในทางกลับกันระบอบที่มีความแข็งแรงแม้ว่าผู้นำทำผิดพลาดการหักล้างเผชิญหน้าก็คงไม่เกิดขึ้น

แต่ความเป็นจริงที่มากกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือจากการรัฐประหารก็ไม่สามารถกุมอำนาจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีฝ่ายไหนจะรักษาความชอบธรรมได้ครบทุกแบบ ทำให้ไม่มีใครสามารถปกครองประเทศได้ทั้งหมด และส่งผลกลับมายังตัวรัฐที่ไม่อาจทำหน้าที่ศูนย์อำนาจได้อย่างเต็มที่เหมือนก่อน เห็นได้จากการที่ทั้ง "ระบอบทักษิณ" และ "ระบอบ คมช." ต่างก็ถูกต่อต้านในรูปแบบต่างๆ ความจริงข้อหนึ่งมีอยู่ว่าตราบใดที่ประชาธิปไตยยังคงเป็นความสัมพันธ์ทางอำนาจที่เปิดพื้นที่ให้เฉพาะคนบางส่วนและปิดสำหรับคนบางส่วนตราบนั้นต้องมีพลังอื่นเคลื่อนไหวทับซ้อนกับระบอบนี้ ดังที่เราได้เห็นว่าปัญญาชนนักวิชาการที่ผิดหวังกับรัฐบาลเลือกตั้งจึงไม่คัดค้านการรัฐประหารทั้งที่เขาก็ไม่อยากได้เผด็จการแต่อย่างใดในทางรัฐศาสตร์ สิ่งนี้เรียกว่า "วิกฤตฉันทานุมัติ" ที่เกิดขึ้น ในระบอบโดยระบอบที่อ่อนแอจะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลค่อนข้างมาก ในทางกลับกันระบอบที่มีความแข็งแรงแม้ว่าผู้นำทำผิดพลาดการหักล้างเผชิญหน้าก็คงไม่เกิดขึ้น

อันที่จริงวิกฤตฉันทานุมัติในประเทศไทยแก้ไขได้ ถ้าเรารู้จักเก็บบทเรียนโดยเสริมสร้างความระมัดระวังในการออก แบบระบอบการเมืองไม่ให้เป็นแค่เวทีของ "ชนชั้นนำ" บางกลุ่มซึ่งมักปิดกั้นพื้นที่ทางการเมืองของชนชั้นนำกลุ่มอื่นๆ และของ "มวลชนชั้นล่าง" ในเวลาเดียวกัน

เห็นได้ว่าระบอบประชาธิปไตยจะอยู่ไม่ได้ หากไม่ได้รับการค้ำจุนจากฉันทามติของผู้คนในสังคมโดยเฉพาะประชาธิปไตยหากยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับคนเพียงบางกลุ่มอยู่แบบนี้ก็จะล้มเหลวตลอดไป และสังคมไทยไม่ควรหมุนวนกับสภาพการณ์แบบนี้ ดังนั้นต้องมีการเปิดพื้นที่ของสังคมให้ชนชั้นอื่นๆ ได้เข้ามาใช้อำนาจด้วยเพื่อให้เกิดความสมดุลของสังคม

รัฐธรรมนูญที่ดีต้องไม่มีการทิ้งใคร และไม่กีดกันใครออกจากระบบ อีกทั้งรัฐบาลควรมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างถึงรากลึกเพื่อแก้ปัญหาการด้อยโอกาสของคนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่ทำแต่นโยบายประชานิยมและอุปถัมภ์เครือข่ายของตัวเองแบบนี้ เพราะกลายเป็นว่ารัฐอุปถัมภ์สังคมก็เพื่อดำรงความชอบธรรมขั้นต่ำของตนเองในการเข้าสู่อำนาจรัฐไว้เท่านั้น ซึ่งทั้งหมดนี้หมายความว่ายิ่งมีประชาธิปไตยรัฐยิ่งมีฐานะครอบงำมากขึ้นและสังคมยิ่งอ่อนแอลง

วิกฤตการเมืองที่กดดันประเทศไทยเป็นวิกฤตที่ทั้งลงลึกและถึงรากซับซ้อนซ่อนปมอย่างยิ่ง หนักหน่วงเกินกว่าที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการเอาคนหน้าเก่าไม่กี่พันคนมาแข่งขันกันในเวทีเลือกตั้ง หรือแก้ไขด้วยการยกกองทัพมาขับไล่คนเหล่านี้ออกไป เพราะวิกฤตดังกล่าวไม่ได้เกิดจากภายในล้วนๆ แต่หากยังมีการผ่านพ้นของยุคสมัยเข้ามาเป็นบริบทสำคัญจนทำให้ทั้งอำนาจที่ใช้ในการปกครองและผู้คนที่ถูกปกครองล้วนเปลี่ยนไปจากเดิม

ทั้งนี้ อำนาจทางการเมืองต้องตั้งอยู่บนความเชื่อบางอย่างร่วมกันระหว่างผู้ใช้กับผู้ถูกใช้อำนาจ และต้องยอมรับให้ได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มีอำนาจที่สำเร็จรูปรออยู่ ตรงกันข้ามอาจจะพบกับอำนาจที่ว่างเปล่า

สำหรับการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้การเมืองไทยดีขึ้น แต่ภายใต้สภาวการณ์เมืองที่อึมครึมเช่นนี้ถือว่าน่าดีใจ เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เป็นไปโดยสันติ แต่คงไม่สามารถหวังได้มากนักกับนักเลือกตั้งไม่กี่พันคนที่เราเห็นอยู่นี้ และคงไม่มีใครบอกได้ว่าข้างหน้าจะเกิดอะไร แต่อีกด้านก็เชื่อว่าทหารคงไม่ต้องการที่จะยึดอำนาจอีกต่อไปแล้ว

ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบบ้านเมืองในอนาคตจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้อง "ถ่วงดุลอำนาจ" จากภายนอก จากโลกาภิวัตน์ ด้วยการปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจภายในให้ประชาชนมีอำนาจโดยตรงมากขึ้น และให้ท้องถิ่นเข้ามารับมรดกทางอำนาจจากรัฐชาติมากขึ้น

อย่าปล่อยให้กระแสโลกาภิวัตน์เข้ามาแปรรูปรัฐไทยตามบุญตามกรรมแบบที่ผ่านมา

*หมายเหตุ : ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวปาฐกถานำเรื่อง"เมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน" เนื่องในโอกาสการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ร่วมกับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพฯ ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550

ขอบคุณ: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=13538&catid=25

Monday, January 14, 2008

เครื่องหมายการค้า

TM และ ® เป็นสัญลักษณ์แสดงเครื่องหมายการค้า (Trademark) ซึ่งหมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ โดยสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ที่มุมบนซ้ายหรือมุมล่างขวาของตราสินค้านี้มีความแตกต่างกันตรงที่ TM เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า (Trademark) ส่วน ® เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว (Registered Trademark)

กฎหมายของบางประเทศคุ้มครองเครื่องหมายการค้าโดยพิจารณาจากการนำไปใช้จริงในการประกอบธุรกิจ ขณะที่บางประเทศจะคุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้น จึงหมายความว่าเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน® ย่อมได้รับการคุ้มครองมากกว่าเครื่องหมายการค้าTM ที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หรืออยู่ในระหว่างจดทะเบียน หรือเคยถูกปฏิเสธรับจดทะเบียนมาแล้ว

เครื่องหมายการค้า มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิของผู้เป็นเจ้าของตราสินค้า ไม่ให้ผู้ผลิตสินค้ารายอื่นๆ นำไปเลียนแบบ หรือหาประโยชน์จากชื่อเสียงและคุณภาพสินค้า ส่วนลิขสิทธิ์ (Copyright) ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ © มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิของเจ้าของผลงาน ซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น โดยการแสดงออกตามประเภทงานลิขสิทธิ์ต่างๆ

ตามสนธิสัญญากรุงเบิร์นซึ่งประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศเป็นสมาชิก กำหนดให้ผลงานสร้างสรรค์เป็นสมบัติของผู้สร้าง ไม่ว่าจะกล่าวอ้างสิทธิ์ด้วยเครื่องหมาย © หรือไม่ก็ตาม

นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศก็ต้องคุ้มครองลิขสิทธิ์ของผลงานที่มีลิขสิทธิ์จากประเทศอื่นด้วย เช่น ผลงานที่มีลิขสิทธิ์จากประเทศอังกฤษ ต้องได้รับความคุ้มครองในฝรั่งเศส ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของฝรั่งเศส แต่สำหรับเครื่องหมายการค้ายังไม่มีกฎหมายสากลใดที่จะคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่จะทะเบียนในประเทศหนึ่ง ให้ได้รับสิทธิคุ้มครองในประเทศอื่นๆ ด้วย

ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมายมาย ถามตอบรอบโลกแนะนำให้ค้นคว้าข้อมูลต่อกันได้ที่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา (http://www.ipthailand.org/dip/index.php)

ที่มา: http://www.manager.co.th/

Wednesday, January 9, 2008

สวัสดีปีใหม่ 2551

สวัสดี ปีใหม่แล้วนะคะ ตั้งใจหรือตั้งปณิธานว่าจะทำอะไรกันบ้างหรือเปล่าเอ่ย ส่วนตัวผู้เขียนก็ตั้งใจว่าจะพยามเขียนบทความเพื่อนำความรู้สู่คุณผู้อ่านต่อๆ ไป แต่ตอนนี้เริ่มเขียนไม่ทัน (อิอิ) เพราะในการเขียนแต่ละครั้งจะต้องหาข้อมูล เพื่อผู้ที่เข้ามาอ่านจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ยิ่งเรื่องที่เราไม่รู้ก็จะยิ่งต้องอ่านจากหลายๆแหล่งแล้วนำมาสรุปเพื่อเขียนเป็นบทความ ดังนั้นจึงเกิดความล่าช้าในการเขียนบ้างครั้ง ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่าช่วงนี้อาจจะต้องเว้นระยะความถี่ในการเขียนบทความ เพราะมีงานการที่ต้องสะสางนิดหน่อย (ก่อนที่จะโดนคุณเจ้านายฆ่า--อิอิ) แต่อย่างไรก็จะแจ้งไปทางอีเมล์ของคุณผู้อ่านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีบทความใหม่ๆ นะคะ ใครที่อยากได้การแจ้งเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงก็ฝากอีเมล์ไว้ได้ค่ะ และต้องขอขอบคุณบรรดามิตรรักแฟนคอลัมน์ที่ค่อยไถ่ถามถึงที่อยู่ของบล็อก แถมใจดีส่งต่อให้บรรดาเพื่อนฝูง พี่น้อง อ่านต่อๆกัน ผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยินค่ะ ทำให้มีพลังและกำลังใจที่จะเขียนต่อไปเรื่อยๆ และบุคคลอีกคนที่คอยช่วยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการให้ก็เป็นพี่ชายของฉันเอง (ขอบคุณมากๆ แต่ช่วยลดความโหดในการวิจารณ์ลงจะดีใจมาก -_-")

เริ่มชิดแชทกันด้วยประโยคคำถามหากต้องการถามว่า
*ปีใหม่นี้ตั้งใจจะทำอะไร*
"What is your New Year Resolution?"
(ว้อท อีส ยัวร์ นิว เยียร์ เรซอลูชั่น)

"Resolution" (เรซอลูชั่น) หมายถึง ความตั้งใจ มุ่งมั่น มติ ปณิธานที่ตั้งไว้
เวลาตอบก็ตอบแบบทวนคำถามก็ได้ค่ะ

"My New Year Resolution is _______."
(มาย นิวเยียร์ เรซอลูชั่น อีส ______ )
แปลว่า ความตั้งใจ ปณิธาน ที่จะทำในปีใหม่นี้คือ _______
หรือจะตอบสั้นๆ ก็ได้ ลองดูตัวอย่างบทสนทนาด้านล่างนะคะ

Duncan: What is your New Year Resolution?
ดันแคน - ว้อท อีส ยัวร์ นิว เยียร์ เรซอลูชั่น
(ปีใหม่นี้เธอตั้งใจจะทำอะไรกันน่ะ)
Zumi: My New Year Resolution is to pay more attention to Japanese.
ซู่มี่ - มาย นิวเยียร์ เรซอลูชั่น อีส ทู เพย์ มอร์ แอทเทนชึ่น ทู เจแพนนีซ
(อ๋อ ฉันนะจะเอาใจใส่ ตั้งใจกับภาษาญี่ปุ่นให้มากกว่านี้)
Tozz: I would like to be a chef. Well, how about yours?
ทอซ - ไอ วู้ด ไลค์ ทู บี อะ เชฟ. เวลล์ ฮาว อเบาท์ ยัวร์ส์
(ส่วนฉันก็อยากเป็นพ่อครัวนะ -- ว่าแต่ของเธอล่ะดันแคน)
Duncan: Sincerely, I have no clue.
ดันแคน - ซินเซียร์ลี่ ไอ แฮฟ โน คลู
(จริงๆนะ ฉันเองยังไม่รู้เลยว่าอยากทำอะไร)

จากบทสนทนาข้างบน เราลองมาดูคำศัพท์และประโยคที่น่าสนใจกันบ้าง
เริ่มจาก...

-To pay attention to
(ทู เพย์ แอทเท่นชึ่น ทู)
แปลว่า สนใจ เอาใจใส่กับ เช่น

Passengers are paying attention to airline announcement.
(แพสเซ็นเจอร์ส์ อาร์ เพย์อิ่ง แอทเท่นชึ่น ทู แอร์ไลน์ แอนเน้าซ์เม้นท์)
ผู้โดยสารกำลังเอาใจใส่กับการประกาศของสายการบิน

You should pay more attention to your daughter.
(ยู ชู้ด เพย์ มอร์ แอทเท่นชึ่น ทู ยัวร์ ดอเท่อร์)
คุณควรจะเอาใจใส่ลูกสาวคุณมากกว่านี้

Attention please, attention.
(แอทเท่นชึ่น พลีส, แอทเท่นชึ่น)
เรามักจะได้ยินประโยคนี้ตอนที่เราอยู่สนามบิน หรือห้างสรรพสินค้า ก่อนที่จะมีประกาศแจ้งให้ทราบตามมา ซึ่งประโยคนี้ก็แปลจริงๆได้ว่า “กรุณาสนใจหน่อย ขอความสนใจหน่อย” ทำนองนี้นะคะแต่เพื่อความสละสลวยแปลว่า “โปรดทราบ” ดีกว่าค่ะ

กลับมาที่บทสนทนานะคะ สังเกตว่าหลังจากที่ทอสตอบคำถามแล้ว เค้าก็ถามกลับว่า “how about yours?” ถือเป็นมารยาทที่สำคัญที่เราจะต้องถามคู่สนทนาเรากลับไป การถามกลับจะแสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสำคัญกับคู่สนทนาและบทสนทนามากแค่ไหนค่ะ

ความต่างของ
“How about you?”
แปลว่า “แล้วคุณล่ะ”
“How about your ______?”

แปลว่า “แล้วของคุณล่ะ” ต้องมีนามตามหลัง
“How about yours?”
แปลว่า “แล้วของคุณล่ะ” ไม่ต้องมีนามตามหลัง

*สามารถใช้ “What” แทนได้ทุกกรณี (แปลเหมือนกันและใช้เหมือนกัน)*
“What about you?”
“What about your ______?”
“What about yours?”

ลองดูตัวอย่างนะคะ
Ex.1
A: Hi, How’s going?
(เอ: ไฮ, ฮาวส์ โกอิ่ง?)
สวัสดีจ้ะ สบายดีมั้ย
B: I’m good thanks. How about you?
(บี: แอม กู้ด แต้งส์ ฮาว อเบาท์ ยู?)
ฉันสบายดี แล้วเธอล่ะ
A: Not too bad.
(เอ: น้อท ทู แบ้ด)
ก็ไม่เลวนะ

Ex.2
A: I went to Hong Kong and bought many things for my sweet heart. How about your weekend?
(เอ: ไอ เว้นท์ ทู ฮอง คอง แอนด์ บ้อดท์ แมนี่ ติงส์ ฟอร์ มาย สวีท ฮาร์ท. ฮาว อเบาท์ ยัวร์ วีคเค่นด์?)
นี่แก ฉันนะไปฮ่องกงมาแล้วก็ซื้อของมาฝากหวานใจฉันเยอะแยะเลยอ่ะ ว่าแต่วันหยุดแกเป็นไงบ้างล่ะ
B: I did nothing. How about yours, C?
(บี: ไอ ดิด นอทติง. ฮาว อเบาท์ ยัวร์ส์, ซี?)
ฉันไม่ได้ทำอะไรเลยว่ะ แล้วของแกล่ะ ซี?
C: I went to the beach with your boyfriends!
(ซี: ไอ เว้นท์ ทู เดอะ บีช วิธ ยัวร์ บอยเฟรนด์ส์)
ฉันไปทะเลกับแฟนพวกแกมาวะ!

เห็นความต่างของการนำไปใช้แล้ว ทีนี้คราวหน้าก็คงจะไม่สับสนแล้วนะคะ มาดูประโยคสุดท้ายของวันนี้กันค่ะ
- I have no clue. (ไอ แฮฟ โน คลู)
หรือตอบสั้นๆ ว่า Clueless. (คลูเลส) ก็ได้ค่ะ
= I have no idea. (ไอ แฮฟ โน ไอเดีย)
หรือตอบสั้นๆ ว่า No idea. (โน ไอเดีย)
= I don’t know. (ไอ ด้อนท์ โนว์)
3 ประโยคนี้ แปลว่า “ฉันไม่รู้” ลองดูตัวอย่างนะคะ

Ex.
A: Do you know who he is?
(เอ: ดู ยู โหน่ว ฮู ฮี อีส?)
นี่แกรู้มั้ยว่าผู้ชายคนนั้นเป็นใครอ่ะ
B: I don’t know. What about you?
(บี: ไอ ด้อนท์ โนว์. ว้อท อเบาท์ ยู?)
ไม่รู้วะ (หันมาถามเพื่อนอีกคนหนึ่ง) แกล่ะรู้มั้ย
C: No, I have no clue.
(ซี: โน, ไอ แฮฟ โน คลู)
ไม่อ่ะ ฉันไม่รู้

จำเอาไปใช้ได้เลยนะคะประโยค “I have no clue” เก๋ไก๋มากๆๆ เป็นภาษาค่อนข้างจะวันรุ่นหน่อยๆ ค่ะ

นี่ก็เพิ่งปีใหม่หมาดๆ ใครมีปณิธานอะไรตั้งไว้ก็อย่าลืมทำให้ได้ตามเป้าหมายนะคะ เอาใจช่วยค่ะ
พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีค่ะ
Happy New Year 2551